30 ตุลาคม 2550

งานวิจัยภาษาไทย

การจัดการความรู้ขององค์กรชุมชนในชนบท
กรณีศึกษา ชุมชนสาคลี อำเภอเสนา จ.พระนครศรีอยุธยา
วัฒนพร คชภูมิ
โครงการบัณฑิตศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
สถาบันบัณฑิตพัฒนศาสตร์ 2540

ที่มาและความสำคัญของปัญหา
ประเทศไทยใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นแผนแม่บทในการกำหนดทิศทางการพัฒนาของประเทศ แนวคิดหรือกระบวนทัศน์สำคัญที่ใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศ นั้นก็คือการมุ่งสร้างความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ ในช่วงที่ผ่านมาน่าจะทำให้ประชาชนมีรายได้มากขึ้น คุณภาพชีวิตดีขึ้น แต่ผลจากการพัฒนากลับกลายเป็นการขยายช่องว่างทางเศรษฐกิจ สังคม ระหว่างภาคเมืองกับภาคชนบท หรือแม้แต่คนในสังคมเมืองด้วยกัน จนกล่าวได้ว่า “ยิ่งพัฒนาคนจนยิ่งจนลง ในขณะที่คนรวยยิ่งรวยขึ้น” และยังส่งผลให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมเสื่อมโทรมลงต้องไม่ใช่เพียงการแก้ปัญหาความยากจน แต่ต้องปรับปรุงระบบต่างๆ ไปพร้อมกันด้วย
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาถึงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ขององค์กรชุมชนสาคลี ซึ่งสามารถพึ่งพาตนเองได้ภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและสามารถจัดการกับปัญหาของชุมชนที่เกิดจากการพัฒนาที่ไม่สมดุลของประเทศ รวมทั้งศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาและข้อจำกัดที่ยังเป็นอุปสรรคต่อการจัดการการเรียนรู้ขององค์กร

ขอบเขตและวิธีการศึกษา
เป็นการศึกษาถึงการจัดการเรียนรู้ขององค์กรชุมชนสาคลี อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของชาวบ้านในชุมชนเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาที่เกิดจากการพัฒนาประเทศในช่วงที่ผ่านมาโดยจะทำการศึกษาการจัดการพัฒนาชุมชนในกรอบความคิดของการจัดการเรียนรู้ขององค์กรชุมชน ซึ่งมีวิธีการศึกษา คือ
ข้อมูลปฐมภูมิ จากการสัมภาษณ์เพื่อให้ทราบแนวทางการทำกิจกรรมกลุ่มของชุมชน
ข้อมูลทุติยภูมิ จากการศึกษาค้นคว้าตำรา
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้ทราบถึงรูปแบบที่เป็นไปได้ในการจัดการให้เกิดการเรียนรู้ในชุมชน
2. เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจนำแนวคิดนี้ไปศึกษาหรือนำไปปฏิบัติต่อไป

สมมุติฐานในการศึกษา
แนวโน้มทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ทำให้ชุมชนต้องรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ การศึกษาครั้งนี้เชื่อว่า แนวทางในการปรับตัวที่สำคัญของชุมชน คือการสร้างกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน ให้คนในชุมชนได้มีการพัฒนาตนเอง เพื่อให้เกิดทางเลือกในชีวิตอันหลากหลาย โดยผู้ศึกษามีแนวคิดพื้นฐานที่เชื่อว่า เป้าหมายสำคัญของการจัดกระบวนการการเรียนรู้ในชุมชนคือ การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Learning Community)

แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
1. แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศ
2. แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาชนบทด้วยแนวทางการ พัฒนาชุมชน
3. แนวคิดเกี่ยวกับองค์กรชุมชน
4. แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ขององค์กรชุมชน
5. กรอบในการศึกษา

กรอบตัวชี้วัดความเข็มแข็งขององค์กรชุมชน : สีลาภรณ์ นาครทรรพ
1. มีการนำมิติด้านวัฒนธรรมมาผสมผสานในการทำกิจกรรม
2. มีประสิทธิภาพในการตอบสนองต่อปัญหา
3. มีการพัฒนากระบวนการเรียนรู้
4. มีการจัดกลุ่มในการทำกิจกรรมต่างๆ
5. มีผู้นำที่มีได้รับการยอมรับจากสมาชิกและชุมชน
6. มีการกระจายผลประโยชน์แก่สมาชิกอย่างยุติธรรม
7. ได้รับการยอมรับนับถือจากองค์กรภายนอก
8. มีการขยายผล ขยายกิจกรรม ขยายเครือข่าย

สรุปผลการศึกษา
การจัดการการเรียนรู้ขององค์กรชุมชนสาคลี
1. ด้านการนำมิติด้านวัฒนธรรมมาผสมผสานในการทำกิจกรรม
2. ด้านการมีประสิทธิภาพในการตอบสนองต่อปัญหา
3. ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้
4. ด้านการจัดกลุ่มในการทำกิจกรรมต่างๆ
5. ด้านผู้นำ
6. ด้านผลประโยชน์
7. ด้านการยอมรับนับถือจากองค์กรภายนอก
8. ด้านการขยายผล

บทสรุปและข้อเสนอแนะ
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การจัดการเรียนรู้ในชนบทมีประสิทธิภาพ
1. องค์กรชุมชน
2. ผู้นำ
3. การมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง
4. กิจกรรมพัฒนชุมชนที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น
5. กิจกรรมการเรียนรู้ที่นำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ของชุมชน
6. การมีจิตสำนึกของความเป็นชุมชน
7. การได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรภายนอก
8. เงินทุนที่ใช้ในการพัฒนา

ข้อเสนอแนะ
1. สังคมชนบทเป็นสังคมที่ส่วนใหญ่เชื่อผู้นำ และเข้าใจว่างานพัฒนาชุมชนเป็นเรื่องของผู้นำ ดังนั้นการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมจะไม่ค่อยเกิด จึงควรเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง
2. ประชาชนในชุมชนไม่กล้าแสดงความคิดเห็น ควรมีการฝึกปฏิบัติซ้ำๆ เช่นการประชุมกลุ่มย่อย
3. การรวมกลุ่มเพื่อหวังผลประโยชน์ตอบแทน จะทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงได้น้อย ต้องใช้เวลาและความอดทนและเสียสละ และยังต้องหาตัวอย่างความสำเร็จช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ว่าสิ่งที่ทำนั้นสามารถทำให้เกิดประโยชน์ได้จริง

ไม่มีความคิดเห็น: